วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

"คิดถึงบ้าน"


มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน

อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน

อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน

__________________________________________________

Analysis

เพลงคิดถึงบ้านนี้เกี่ยวกับชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งที่คิดถึงบ้านหลังจากที่ย้ายออกมาอยู่ในเมืองกรุง ชายหนุ่มนั้นมองดูดวงจันทร์ดวงดาวแล้วรู้สึกเหงาที่ตัวเองอยู่ในโลกที่เขาไม่รู้จักใครเลย เนื้อหานี้มีความหมายต่อผู้อ่านตรงที่ว่ามันสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกคน เพราะพระจันทร์มักเป็นสัญลักษณ์ของคนขี้เหงาเพราะว่าคนส่วนใหญ่มักจะดูดาวดูเดือนเมื่อยามเหงา ชายหนุ่มคนนี้นั่งจ้องดวงเดือนท่ามกลางเมืองที่วุ่นวาย มีความเชื้อเอาไว้ว่า เวลาคิดถึงใครสักคนแล้วไปคุยกับพระจันทร์ ดวงจันทร์นั้นจะส่งข้อความให้ไปอีกคนหนึ่ง

ผู้แต่งได้เลือกใช้พระจันทร์ในกรณีนี้เพราะว่าพระจันทร์มักถูกเชื่อมโยงกับความโรแมนติกและความเงียบเหงา สัญลักษณ์นี้ช่วยเติมเต็มเนื้อหาของเรื่องนี้เพราะว่าชายหนุ่มนั้นใช้พระจันทร์เปรียบเสมือนเพื่อนเก่าของเขาจากบ้านเกิดเพราะว่าเห็นจันทร์ดวงเดียวกัน แม้ต่างถิ่น ฉันคิดว่าเวลาชายหนุ่มนั้นมองดูดวงจันทร์ที่กรุงเทพ เขาคิดเหมือนกับตนเองได้กลับไปบ้านตนเพราะว่าดวงจันทร์นั้นเป็นดวงเดียวกับที่เขาเห็นมาตลอด ทำให้เขาคิดถึงบ้าน
การที่ใช้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ (symbol) เพื่อบ่งบอกความเหงาและคิดถึง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกไปด้วยกับชายหนุ่มและเข้าลึกไปในจิตใจของกลอน เพราะคำบรรยายสามารถทำให้ผู้อ่านแบ่งหรือมีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับชายหนุ่มนี้ เหตุนี้เป็นเพราะ พระจันทร์เป็นอะไรที่นิ่มนวลและใกล้ชิด

นอกจากนั้นกลวิธีต่างๆ ที่ถูกแพร่หลายในเพลงนั้นทำให้เราคล้อยตามไป ซึ่งเกิดความไพเราะ กลวิธีสำคัญ นี้ได้แก่ สัมผัสอักษร การซ้ำ (repetition) และสัมผัสสระ (rhyme) ในเพลงเพลงนี้ ผู้แต่งได้ใช้สัมผัสอักษรค่อนข้างมากเพื่อจะสื่อความหมายของเพลงได้สะดวกขึ้น รวมถึงทำให้เพลงไพเราะและคล้องจองกันเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นท่อน

"มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา..."

แนคิดว่าการสัมผัสตัวอักษร "ด" นี้ทำให้มีผลดีแก่เพลงเพราะว่า "ด" นี้ออกเสียงแล้วฟังอ่อนโยน ไม่รุนแรง และฟังดูเสียงเหมือนกำลังเพ้อฝัน หรือเหมือนอยู่ในฝัน (dreamy) ซึ่งเข้ากันได้ดีกับเนื้อหาของเพลงอีกเช่นกัน นอกจากนี้ตัวอย่างอีกชิ้นหนึ่งจากท่อนเพลงซึ่งสื่อให้เห็นถึงคำบรรยายอย่างชัดเจนได้แก่ท่อน

"อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน "

ฉันเห็นว่าการสัมผัสอักษรตรงนี้ได้ผลและสร้างจินตภาพได้สำเร็จเพราะว่าเวลาเราคิดถึงเมืองที่ยุ่งและวุ่นวายอยู่ เราก็จะเห็นภาพผู้คนวิ่งกันไปมาอย่างรีบร้อน การใช้ สัมผัส "ว" สร้างภาพในจินตนาการเราชัดยิ่งขึ้น เพราะ "ว" นั้นช่วยในการแต่งเติมเสียงและภาพของเมืองที่วุ่นวาย มิหน่ำซ้ำ ผูแต่งยังใช้สัมผัสสระ (มี rhyme, end rhyme, internal rhyme บ้าง) เพื่อสร้างความสมดุลและไพเราะของเพลงอีกเช่นกัน รวมถึง การซ้ำ (repetition) หรือย้ำคิดย้ำคำเพื่อเน้นประเด็นหรือความคิดถึงที่ชายหนุ่มมีต่อบ้านนั้นเอง

มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน

อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน

อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน

“เสียเจ้า”

๑. เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย ๚


๒. จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๚


๓. ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้
ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๚


๔. แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๚


๕. ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚

__________________________________________________

Analysis

กาพย์ญานี ๑๑ นี้สื่อให้รู้ถึงความคับแค้นใจของชายหนุ่มที่ผิดหวังจากหญิงสาวคนหนึ่ง มันเป็นความแค้นที่ฝังใจเขายิ่งนัก แต่ด้วยว่าอีกใจรักผู้หญิงคนนั้นมากมายเหลือเกิน จึงไม่ได้กล่าวหาว่าร้ายอะไรให้ผู้หญิงต้องเดือดร้อน ยอมที่จะให้ตัวเองป่นปี้ เจ็บช้ำเสียเอง.. ผู้หญิงคนนี้คงสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจกับเขาไว้มาก.. มากพอที่จะจดจำความเจ็บช้ำครั้งนี้ไปจนวันตาย ตั้งใจไว้ว่าเกิดชาติหน้าชาติใดก็ไม่มีทางรักผู้หญิงคนนี้อีกแล้ว ถึงขนาดที่จะยอมลงนรกหากรู้ว่าเธอคนนั้นเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ หากเธอเป็นไฟ แทนที่จะเป็นน้ำเพื่อดับไฟ ก็ยอมเป็นไม้ให้ตัวเองมอดไหม้ เพียงเพื่อจะให้แน่ใจว่าจะจดจำความเจ็บปวดความสูญเสียครั้งได้โดยไม่ลืมแอบหวังไว้อย่างที่สุดที่จะลืมผู้หญิงคนนี้ แต่หากลืมไม่ได้ แม้เจอกันแล้วเขาจำได้ ก็จะยอมควักลูกตาทิ้งจะได้ไม่ต้องเห็นกันอีกต่อไป ที่ยอมเจ็บช้ำ เจ็บปวด อย่างนี้เพียงเพื่อเหตุผลเดียว คือจะได้มั่นใจว่า จะจดจำความรักความแค้นครั้งนี้ได้แม่นยำ.. ไม่ว่าชาติไหน ๆ

อารมณ์ของกวีที่ทูกสื่อผ่านกลอนนั้นเกี่ยวทั้งรักและแค้นที่จะติดตามทุกชาติไป กวีนั้นได้สื่อให้เรารู้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความรัก คือ ความเฉยชา. ความเกลียดเป็นแค่อีกภาษาหนึ่งของความรัก ความเกลียดไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับความรัก การแบ่งกลอนออกมาเป็นตอนๆ ทำให้ผู้อ่านตามง่ายขึ้นและเพื่อแบ่งแยกแต่ละประเด็นกวีพยายามจะสื่อเกี่ยวกับความแค้นของตน นอกเหนือจากนี้ กวียังแสดงความรู้สึกของตนโดยใช้ศัพท์ที่รุนแรงด้วยเสียงและความหมายเพื่อจะทำให้กลอนมีความแข็งแรงทางด้านความหมายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นคำว่า อุบัติ แทนคำว่าเกิดเพราะว่าเสียงที่คำพูดออกมามันรุนแรงและสื่อถึงสิ่งที่ไม่ดี (negative connotation) เหมือนกับตอนที่ใช้ในอุบัติเหตุ และเหมือนเสนอแนะว่าการที่หญิงสาวนั้นเกินบนสวรรค์เป็นสิ่งเลวร้าย ซึ่งสื่อถึงความรักและความแค้นที่นายมีต่อเธออีกครั้ง
นอกจากใช้คำห้าวโหดแล้ว กวียังแต่งเติมกลอนให้ฟังดูห้าวโดยใช้สัมผัสอักษรที่มีเสียงหนัก เช่น"ร" "ฟ" และ"จ" เพื่อเน้นความเกลียดฉังต่อหญิงสาว ตัวอย่างเช่น ศัพท์ที่ถูกขีดเส้นต้ายข้างล้าง

๑. เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย

๒. จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๚

๓. ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้
ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๚

๔. แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๚

๕. ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚

"ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้ " เป็นหนึ่งในท่อนที่มีพลังและเหี่ยมโหดมากเพราะว่ามีคำแรงแฝงมากอยู่ในท้อน รวมถึงการสัมผัสอักษรหนักอีกด้วย แปลท่อนออกมาว่าถ้าเธออยู่บนโลก เขาจะขอให้โลกนั้นหม่นไหม้ การใช้คำว่า "โลกันตร์" แทนคำว่าโลก สร้างพลังให้แก่ความหมายและข้อความที่กวีพยายามจะสื่อ

“ละครรักแท้” โดย Clash




บทละครทุกตอน คนรักกันนั้นต้องทะเลาะกัน
พอถึงตอนจบ ไตร่ตรองหัวใจมองตา บอกรักแล้วดีกัน
แต่ในชีวิตจริง กลัวสองเราไม่จบดั่งในละคร
ตอนท้ายเรื่อง จะเจ็บทั้งสอง หรือปรองดองกัน ไม่รู้จะยังไง

บางอารมณ์ฉันก็เป็นตัวโกง
จนเธอต้องชำปวดร้าวแล้วเลิกกัน
แต่วันดีๆ ที่สองเรากอดกันนั้นอย่าลืม
โปรดกลับมาหาคนเดิมๆ อีกครั้ง
ตั้งแต่เธอเดินไป เหงาจนครวญใจ

ละครรักแท้ ฉันขอเล่นใหม่สักที

บางอารมณ์ฉันก็เป็นตัวโกง
จนเธอต้องชำปวดร้าวแล้วเลิกกัน
แต่วันดีๆ ที่สองเรากอดกันนั้นอย่าลืม
โปรดกลับมาหาคนเดิมๆ อีกครั้ง
ตั้งแต่เธอเดินไป เหงาจนครวญใจ

ละครรักแท้ ฉันขอเล่นใหม่สักทีละครรักแท้ ฉันขอเล่นใหม่สักที

__________________________________________________

Analysis

เนื้อเพลงชิ้นนี้เกี่ยวกับชีวิตอันโศกเศร้าของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ได้ผิดพลาดในชีวิตรักของตนและอยากจะเริ่มต้นใหม่เพราะผิดหวังในการกระทำของตนเองกับคนที่เขารัก ชายหนุ่มนั้นเปรียบเทียบความรักของเขาทั้งสองกับละครรักแท้ เขาอยากให้คนรักและเขาจบกันอย่างมีความสุข แต่เขากลัวว่าในชีวิตจริงนั้น มันอาจจะไม่เป็นเช่นนี้ เขาจึงอยากขอเริ่มต้นใหม่ หรืออย่างที่เขาได้เปรยเอาไว้ว่า ขอเล่นละครรักแท้อีกครั้งหนึ่ง ฉันคิดว่าความหมายของเพลงนี้ดีมากเพราะมันใช้การเปรียบเทียบความรักกับละครรัก ซึ่งแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เหตุนี้เป็นเพราะ ความรักในละครนั้นมักจบลงด้วยดี ผิดกับความรักในชีวิต ซึ่งไม่ได้ลงเอยด้วยดีเสมอไป ชายหนุ่มในเพลงนั้นพยายามจะขอให้หญิงสาวให้โอกาสเขาอีกครั้ง ไม่อย่างนั้นต่างก็เศร้า

โครงสร้างของเพลงนี้แบ่งออกเป็นหนึ่ง verse ท่อน hook และ chorus อีก ๒ ท่อน ฉันคิดว่าผู้แต่งจัดโครงเช่นนี้เพราะอยากเน้นท่อน hook และ chorus เพราะมันแสดงอารมณืของกลอน (และชายหนุ่ม) อย่างเห็นได้ชัดเพราะว่าเขาอยากได้เธอกลับและอยากเริ่มต้นใหม่กับเธอเหลือเกิน การที่ย้ำหรือซ้ำอะไรนั้นทำให้ผู้อ่านเห็นความเสียใจของชายหนุ่มและเห็นใจให้เขา

เพลงชิ้นนี้ก็มีสัมผัสอักษรแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มาก ตัวอย่างเช่น

"ตอนท้ายเรื่อง จะเจ็บทั้งสอง หรือปรองดองกัน ไม่รู้จะยังไง"

สัพท์ที่ผู้แต่งใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างสูงในเพลงนี้ เป็นตอน "ตั้งแต่เธอเดินไป เหงาจนครวญใจ" ฉันคิดว่าการเลือกคำว่า "ครวญ" นั้นและมาผสมผสารให้เกิดคำว่า "ครวญใจ" นั้น ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงชายหนุ่มนั้น คร้ำครวญ ทรมาน คิดถึงหญิงสาวอยู่ เห็นได้ชัดว่าการใช้คำที่มีพลังและทำให้ผู้อ่านได้คิดหรือนึกภาพเอาเองนั้นสำคัญเป็นอย่างมากเพราะมันจะสามารถวัดหรือกำหนดความสำเร็จของเพลงหนึ่ง
















ละครรักแท้ - Clash

“ดินแดนแห่งความรัก” โดย Crescendo



คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้น
คงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ

เจ็บมาแล้วตั้งกี่ครั้ง เมื่อความหลังพังทลาย
จะมีใครที่เป็นคนสุดท้าย
เธอคนนั้นอยู่แห่งไหน จะไกลแสนไกลเท่าไหร่
ก็จะไปที่ดินแดนแห่งนั้น

จะขอเอาคำว่ารัก ทุกคำที่ฉันได้เคยเอ่ย
จะขอมันคืนจากใครที่เคยผ่านเข้ามา

จะขอรวมคำว่ารักเหล่านี้ ทวีความหมายและคุณค่า
จะขอเอามามอบไว้ให้เธอผู้เดียว

ข้ามขอบฟ้า แผ่นน้ำ หรือขุนเขาทะเลทราย
ไกลเท่าไหร่จะไปให้ถึง

คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้นคงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ

ข้ามขอบฟ้าหรือขุนเขา ข้ามแผ่นน้ำทะเลกว้างใหญ่
แต่ฉันจะไปหาเธอ

ข้ามขอบฟ้า แผ่นน้ำ หรือขุนเขาทะเลทราย
ไกลเท่าไหร่จะไปให้ถึง

คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง

__________________________________________________

Analysis

ฉันคิดว่าเพลงนี้เรียบเรียงได้อย่างสวยงามเลยทีเดียว ทุกประการเข้ากันได้ดีอย่างยิ่ง เช่น ศัพท์ที่ถูกเลือกใช้ เนื้อหา ความหมายของเพลงและจินตภาพในการรรยายของผู้แต่ง ดินแดนแห่งความรักนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับชายคนหนึ่งที่ถูกหักอกหลายครั้ง ที่กำลังค้นหา"เธอคนนั้น" มันเป็นความหวังของเขาว่าเขาจะได้เจอผู้หญิงสักคนที่ดินแดนใดสักแห่ง
ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึงคือโครงสร้างและศัพท์นามที่ถูกใช้ในเพลงนี้ เพลงนี้ถูกแผ่ออกในรูปแบบคล้ายกับกลอนชนิดหนึ่งที่มักย้ำหรือซ้ำคำเริ่มของทุกบรรทัดมาท่อนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
"คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้น
คงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ "

ผู้แต่งน่าจะใช้กลวิธีนี้เพื่อเหตุผลหลายอย่าง เช่น เพื่อทำให้ผู้ฟังฟังง่ายขึ้นเพราะคำมันซ้ำกัน ก่อเกิดให้เขาจำทำนองเพลงได้ง่ายขึ้น ฯลฯ หรือว่าทำเพื่อเน้นความหมายและอารมณ์ผู้แต่งพยายามจะสื่อ เพราะคำว่า "คง" นี้เต็มไปด้วยความหวัง ซึ่งสื่อลึกเข้าไปถึงอารมณ์ของผู้แต่งหรือชายหนุ่มนั้นไว้ว่า ใจเขานั้นเต็มไปด้วยความหวัง นอกเหนือจากนี้ผู้แต่งก็ยังมีการซ้ำคำว่า "จะ" ซึ่งแสดงให้เรารู้ว่าชายนั้นจะทำเช่นนี้
ฉันคิดว่าการสัมผัสสระและอักษรนี้ ผู้แต่งทำได้อย่างสวยงามเพราะเวลาออกเสียงคำออกม่เปล่าๆ หรือออกมาเป็นทำนองเพลงมันฟังดูไพเราะมากเพราะคำนั้นคล้องจองและเข้ากันได้ดี ผู้แต่งนั้นเน้นใช้คำ/อักษรที่เป็นเสียงเบาและสวยงาม ที่อ่อนโยนต่อหู เพื่อให้เข้ากับแก่นของความรัก
ตัวอย่างเช่นการสัมผัสอักษร "ด" ใน "คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง " อย่างที่ได้กล่าวไปใน บล๊อกก่อนน่านี้ เสียง "ด" นี้เป็นเสียงอ่อนโยนแล้วเปรียบเสมือนกับว่าเรากำลังล่องลอยอยู่ในห่วงฝัน ชายหนุ่มคนนี้ก็มีอารมณ์คล้ายกันเพราะว่า







"เรื่องพระอภัยมณี" โดย สุนทร (ภู่)

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

__________________________________________________

Analysis

บทประพันธ์โดยสุนทร (ภู่) นี้กล่าวถึงความรักที่ยิ่งใหญ่ที่ชายหนุ่มมีต่อหญิงสาวที่ตนรัก กลอนท่อนนี้ได้บ่งบอกผู้อ่านว่าแม้ว่าหญิงสาวจะอยู่หนใด ชายหนุ่มนั้นไม่อยากพลัดพรากจากเธอและจะตามไปแม้ห่างกันไกลถึงคนละโลก ผู้แต่งได้แสดงความรู้สึกนี้โดยการรวมส่วนประกอบต่างๆ เช่นการบรรยายให้เห็นภาพ (imagery) อุปมาและอุปมัย
การเปรียบเทียบความรักกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่และอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องพบ เช่นความรักที่จะคงอยู่ตลอดไป "ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร" ก่อเกิดให้เราสัมผัสและรู้ถึงพลังความรักอันยิ่งใหญ่ของชายหนุ่ม นอกเหนือจากนี้ การใช้อุปมาและอุปมัยเพื่อเปรียบเทียบชีวิตของทั้งสองนั้นมีผลต่อบทกลอนเป็นอย่างสูง ตัวอย่างเช่น การที่ชายหนุ่มนั้นอยากตามหญิงสาวตลอดแม้พลัดพรากจากกัน หากเธอเป็นน้ำ เขาก็จะตามไปเป็นปลา หากเธอเป็นดอกบัว เขาก็จะตามไปเป็นแมลง หรือผึ่งเพื่อจะได้ใกล้ชิดเธอ และหากเธอเป็นถ่ำ เขาจะเป็นราชสิงห์ที่เอาเธอเป็นคู่ครอง กลวิธีนี้สำคัญมากในกลอนบทนี้เพราะมันทำให้ความหมายของกลอนมีพลังมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นคำบรรยายเหล่านี้ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น

กลอนบทนี้มีเนื้อหาที่มีความหมายเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ถ้อยคำที่เฉลี่ยวฉลาดของกวีนั้นในรูปแบบกลอนแปด สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้กลอนท่อนนี้ค่อนข้างยากที่จะวิเคราห์ (interpret) หากเราไม่อ่านอย่างละเอีอด การสัมผัสอักษรและจังหวะตามแนวทางของกลอนแปดทั้วไป และถ้อยคำที่ถูกใช้ย่อมเกี่ยวข้อง (contribute)แก่เนื้อเรื่อง ตัวอย่างเช่น ส่วนมากผู้แต่งจะได้เลื่อกใช้คำที่อ่อนหวาน น่าฟังแล้วอ่อนโยนต่อหูผู้อ่าน (sibilance sounds) เพื่อให้และเติมเต็มอารมณ์ของกลอน อักษร/คำเหล่านี้รวมถึง "ส" "พ" "ท" "น" และเห็นได้จากตัวอย่างข้างล้างนี้

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

นอกเหนือจากนี้ผู้แต่งได้แทนสัพท์ต่างๆ เพื่อทำให้กลอนไพเราะและรื่นไหลมากขึ้น ศัพท์เหล่านี้รวมถึง "ภุมรา" แทนคำว่า "แมลง" ซึ่งทำให้กลอนลื่นไหลมากขึ้น ภุมรานั้นเป็นศัพท์ที่ฟังแล้วรู้สึกอ่อนโยน และเหมาะสมกับเนื้อหาดังกล่าว แต่คำว่าแมลงนี้ เวลาเอ่ยออกมาไม่ไพเราะเท่าภุมรานั้นเอง
"ราชสีห์" เป็นอีกคำที่กวีใช้ได้อย่างสวยงาม แทนคำว่า "สิงโต" คำว่าราชสีห์นี้ทำให้ดูมีชั้นและเป็นสิงโตที่ยิ่งใหญ่ มี (positive connotations) ตรงข้ามกับสิงโตที่ฟังดูธรรมดา ผู้แต่งได้ใช้สัพท์อย่างดีเพราะมันเข้ากันกับวรรค "เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง" เมื่อราชสีห์ สัมผัสอักษรกับ "ส" ทำให้กลอนฟังดูอ่อนหวานและโรแมนติกมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

“Live & Learn” โดย กมลา สุโกศล และ บอยด์ โกสิยพงษ์

เมื่อวันที่ชีวิตเดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน จนบางครั้งคนเราไม่ทันได้ตระเตรียมหัวใจ
ความสุข ความทุกข์ ไม่มีใครรู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ จะยอมรับความจริงที่เจอได้แค่ไหน

เพราะชีวิตคือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป
มีสุขสม..มีผิดหวัง..หัวเราะหรือหวั่นไหว เกิดขึ้นได้ทุกวัน

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิด..สติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

สุขก็เตรียมไว้ ว่าความทุกข์คงตามมาอีกไม่ไกล จะได้รับความจริงเมื่อต้องเจ็บปวดไหว

เพราะชีวิตคือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป
มีสุขสม..มีผิดหวัง..หัวเราะหรือหวั่นไหว เกิดขึ้นได้ทุกวัน

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิด..สติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิด..สติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิด..สติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

__________________________________________________

Analysis

Live & Learn เป็นเพลงที่ให้ความหมายของชืวิตอย่างชัดเจน อย่างที่ชื่อเพลงได้กล่าวถึง ในส่วนรวมแล้ว Live & Learn สื่อให้เห็นถึงความจริงของชิวิต ว่าต้องยอมรับในสิ่งที่เราไม่สามารถเปลื่อนได้
เพลงนี้ให้ความรู้สึกแก่เราว่าชีวิตมีอะไรให้เข้าใจมากขึ้น มีสิ่งต่างๆ ที่เราต้องเผชิญอยู่ทุกวันและ ทำให้เรานั้นรู้ว่าชีวิตคนเรามีแพ้และมีชนะ อาจจะมีท้อบ้างในบางครั้ง แต่เราต้องไม่ถอยหรือหันหลังให้กับปัญหา เพราะชีวิตมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งยิ่มและร้องไห้ เราไม่สามารถไปควบคุมอะไรทั้งนั้น

เพลงนี้สื่อให้เห็นถึงอารมณ์ผู้แต่งจากถ้อยคำที่ถูกกล่าวออกมาผ่านเนื้อเพลง อารมณ์ของเพลง รวมถึงของผู้แต่งล้วนแต่รู้สึกความรัก และความยอมรับ กับชีวิต ว่าชีวิตนี้สามารถมอบสิ่งต่างๆ ให้เราได้ เราอย่าเพียงท้อแท้กับสิ่งที่เราไม่มี หรือทำไม่ได้ นอกเหนือจากอารมณ์ของกลอนแล้ว น้ำเสียงของกลอนนี้ยังช่วยในการสื่อความหมายของเพลงอีกเช่นกัน น้ำเสียงของเพลงนี้ไม่ได้สดใสหรือซึมเศร้า แต่อยู่ระหว่างกลาง ผู้แต่งนั้นได้ย้อนหลังแล้ว reflect upon หรือ คำนึงถึงชีวิตนื้

เนื่อหา อารมณ์และถ่อยคำต่างๆ ที่ผู้เขืยนได้เลือกใช้เหมาสมและเข้ากันได้ดี เพราะคำต่างๆ นั้น คล้องจองกันอย่างสวยงาม ผู้แต่งทำสิ่งนี้ได้สำเร็จโดยการใช้สัมผัสอักษร หรือ alliteration เป็นส่วนมากและใช้จังหวะ (rhythm) เพื่อทำให้เพลงรื่นไหลมากขึ้น รวมถึงเคลื่อนไหวเพลง ทำให้ร้องได้ง่ายขึ้น
ศัพท์ที่ใช้ในเพลงนี้เป็นศัพท์ที่ง่าย ซึ่งทำให้ผู้คนที่ฟังเข้าใจได้สะดวกและเข้าใจลึกถึงความหมายของเพลงได้


Live And Learn - Boyd Kosiyabong