๑. เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย ๚
๒. จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๚
๓. ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้
ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๚
๔. แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๚
๕. ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚
__________________________________________________
Analysis
กาพย์ญานี ๑๑ นี้สื่อให้รู้ถึงความคับแค้นใจของชายหนุ่มที่ผิดหวังจากหญิงสาวคนหนึ่ง มันเป็นความแค้นที่ฝังใจเขายิ่งนัก แต่ด้วยว่าอีกใจรักผู้หญิงคนนั้นมากมายเหลือเกิน จึงไม่ได้กล่าวหาว่าร้ายอะไรให้ผู้หญิงต้องเดือดร้อน ยอมที่จะให้ตัวเองป่นปี้ เจ็บช้ำเสียเอง.. ผู้หญิงคนนี้คงสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจกับเขาไว้มาก.. มากพอที่จะจดจำความเจ็บช้ำครั้งนี้ไปจนวันตาย ตั้งใจไว้ว่าเกิดชาติหน้าชาติใดก็ไม่มีทางรักผู้หญิงคนนี้อีกแล้ว ถึงขนาดที่จะยอมลงนรกหากรู้ว่าเธอคนนั้นเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ หากเธอเป็นไฟ แทนที่จะเป็นน้ำเพื่อดับไฟ ก็ยอมเป็นไม้ให้ตัวเองมอดไหม้ เพียงเพื่อจะให้แน่ใจว่าจะจดจำความเจ็บปวดความสูญเสียครั้งได้โดยไม่ลืมแอบหวังไว้อย่างที่สุดที่จะลืมผู้หญิงคนนี้ แต่หากลืมไม่ได้ แม้เจอกันแล้วเขาจำได้ ก็จะยอมควักลูกตาทิ้งจะได้ไม่ต้องเห็นกันอีกต่อไป ที่ยอมเจ็บช้ำ เจ็บปวด อย่างนี้เพียงเพื่อเหตุผลเดียว คือจะได้มั่นใจว่า จะจดจำความรักความแค้นครั้งนี้ได้แม่นยำ.. ไม่ว่าชาติไหน ๆ
อารมณ์ของกวีที่ทูกสื่อผ่านกลอนนั้นเกี่ยวทั้งรักและแค้นที่จะติดตามทุกชาติไป กวีนั้นได้สื่อให้เรารู้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความรัก คือ ความเฉยชา. ความเกลียดเป็นแค่อีกภาษาหนึ่งของความรัก ความเกลียดไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับความรัก การแบ่งกลอนออกมาเป็นตอนๆ ทำให้ผู้อ่านตามง่ายขึ้นและเพื่อแบ่งแยกแต่ละประเด็นกวีพยายามจะสื่อเกี่ยวกับความแค้นของตน นอกเหนือจากนี้ กวียังแสดงความรู้สึกของตนโดยใช้ศัพท์ที่รุนแรงด้วยเสียงและความหมายเพื่อจะทำให้กลอนมีความแข็งแรงทางด้านความหมายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นคำว่า อุบัติ แทนคำว่าเกิดเพราะว่าเสียงที่คำพูดออกมามันรุนแรงและสื่อถึงสิ่งที่ไม่ดี (negative connotation) เหมือนกับตอนที่ใช้ในอุบัติเหตุ และเหมือนเสนอแนะว่าการที่หญิงสาวนั้นเกินบนสวรรค์เป็นสิ่งเลวร้าย ซึ่งสื่อถึงความรักและความแค้นที่นายมีต่อเธออีกครั้ง
นอกจากใช้คำห้าวโหดแล้ว กวียังแต่งเติมกลอนให้ฟังดูห้าวโดยใช้สัมผัสอักษรที่มีเสียงหนัก เช่น"ร" "ฟ" และ"จ" เพื่อเน้นความเกลียดฉังต่อหญิงสาว ตัวอย่างเช่น ศัพท์ที่ถูกขีดเส้นต้ายข้างล้าง
๑. เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย ๚
๒. จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๚
๓. ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้
ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๚
๔. แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๚
๕. ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚
"ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้ " เป็นหนึ่งในท่อนที่มีพลังและเหี่ยมโหดมากเพราะว่ามีคำแรงแฝงมากอยู่ในท้อน รวมถึงการสัมผัสอักษรหนักอีกด้วย แปลท่อนออกมาว่าถ้าเธออยู่บนโลก เขาจะขอให้โลกนั้นหม่นไหม้ การใช้คำว่า "โลกันตร์" แทนคำว่าโลก สร้างพลังให้แก่ความหมายและข้อความที่กวีพยายามจะสื่อ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
โลกันตร์ ในที่นี้น่าจะหมายถึงนรก
ตอบลบและความหมายของวรรค "ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้" คงหมายถึง หากหญิงผู้นั้นเกิดบนสวรรค์ ผู้เขียนจะขอตกนรก ไม่ขอพบเจอ