วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

“ดินแดนแห่งความรัก” โดย Crescendo



คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้น
คงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ

เจ็บมาแล้วตั้งกี่ครั้ง เมื่อความหลังพังทลาย
จะมีใครที่เป็นคนสุดท้าย
เธอคนนั้นอยู่แห่งไหน จะไกลแสนไกลเท่าไหร่
ก็จะไปที่ดินแดนแห่งนั้น

จะขอเอาคำว่ารัก ทุกคำที่ฉันได้เคยเอ่ย
จะขอมันคืนจากใครที่เคยผ่านเข้ามา

จะขอรวมคำว่ารักเหล่านี้ ทวีความหมายและคุณค่า
จะขอเอามามอบไว้ให้เธอผู้เดียว

ข้ามขอบฟ้า แผ่นน้ำ หรือขุนเขาทะเลทราย
ไกลเท่าไหร่จะไปให้ถึง

คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้นคงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ

ข้ามขอบฟ้าหรือขุนเขา ข้ามแผ่นน้ำทะเลกว้างใหญ่
แต่ฉันจะไปหาเธอ

ข้ามขอบฟ้า แผ่นน้ำ หรือขุนเขาทะเลทราย
ไกลเท่าไหร่จะไปให้ถึง

คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง

__________________________________________________

Analysis

ฉันคิดว่าเพลงนี้เรียบเรียงได้อย่างสวยงามเลยทีเดียว ทุกประการเข้ากันได้ดีอย่างยิ่ง เช่น ศัพท์ที่ถูกเลือกใช้ เนื้อหา ความหมายของเพลงและจินตภาพในการรรยายของผู้แต่ง ดินแดนแห่งความรักนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับชายคนหนึ่งที่ถูกหักอกหลายครั้ง ที่กำลังค้นหา"เธอคนนั้น" มันเป็นความหวังของเขาว่าเขาจะได้เจอผู้หญิงสักคนที่ดินแดนใดสักแห่ง
ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึงคือโครงสร้างและศัพท์นามที่ถูกใช้ในเพลงนี้ เพลงนี้ถูกแผ่ออกในรูปแบบคล้ายกับกลอนชนิดหนึ่งที่มักย้ำหรือซ้ำคำเริ่มของทุกบรรทัดมาท่อนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
"คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง
คงมีใครซักคนรออยู่ ตรงนั้น
คงมีความหมายใด ซ่อนอยู่ในการรอคอยที่แสนนาน
คงจะมีซักวันฉันคงได้เจอ "

ผู้แต่งน่าจะใช้กลวิธีนี้เพื่อเหตุผลหลายอย่าง เช่น เพื่อทำให้ผู้ฟังฟังง่ายขึ้นเพราะคำมันซ้ำกัน ก่อเกิดให้เขาจำทำนองเพลงได้ง่ายขึ้น ฯลฯ หรือว่าทำเพื่อเน้นความหมายและอารมณ์ผู้แต่งพยายามจะสื่อ เพราะคำว่า "คง" นี้เต็มไปด้วยความหวัง ซึ่งสื่อลึกเข้าไปถึงอารมณ์ของผู้แต่งหรือชายหนุ่มนั้นไว้ว่า ใจเขานั้นเต็มไปด้วยความหวัง นอกเหนือจากนี้ผู้แต่งก็ยังมีการซ้ำคำว่า "จะ" ซึ่งแสดงให้เรารู้ว่าชายนั้นจะทำเช่นนี้
ฉันคิดว่าการสัมผัสสระและอักษรนี้ ผู้แต่งทำได้อย่างสวยงามเพราะเวลาออกเสียงคำออกม่เปล่าๆ หรือออกมาเป็นทำนองเพลงมันฟังดูไพเราะมากเพราะคำนั้นคล้องจองและเข้ากันได้ดี ผู้แต่งนั้นเน้นใช้คำ/อักษรที่เป็นเสียงเบาและสวยงาม ที่อ่อนโยนต่อหู เพื่อให้เข้ากับแก่นของความรัก
ตัวอย่างเช่นการสัมผัสอักษร "ด" ใน "คงจะมีรักจริงรออยู่ ที่ดินแดนใดซักแห่ง " อย่างที่ได้กล่าวไปใน บล๊อกก่อนน่านี้ เสียง "ด" นี้เป็นเสียงอ่อนโยนแล้วเปรียบเสมือนกับว่าเรากำลังล่องลอยอยู่ในห่วงฝัน ชายหนุ่มคนนี้ก็มีอารมณ์คล้ายกันเพราะว่า







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น