
มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
__________________________________________________
Analysis
เพลงคิดถึงบ้านนี้เกี่ยวกับชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งที่คิดถึงบ้านหลังจากที่ย้ายออกมาอยู่ในเมืองกรุง ชายหนุ่มนั้นมองดูดวงจันทร์ดวงดาวแล้วรู้สึกเหงาที่ตัวเองอยู่ในโลกที่เขาไม่รู้จักใครเลย เนื้อหานี้มีความหมายต่อผู้อ่านตรงที่ว่ามันสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกคน เพราะพระจันทร์มักเป็นสัญลักษณ์ของคนขี้เหงาเพราะว่าคนส่วนใหญ่มักจะดูดาวดูเดือนเมื่อยามเหงา ชายหนุ่มคนนี้นั่งจ้องดวงเดือนท่ามกลางเมืองที่วุ่นวาย มีความเชื้อเอาไว้ว่า เวลาคิดถึงใครสักคนแล้วไปคุยกับพระจันทร์ ดวงจันทร์นั้นจะส่งข้อความให้ไปอีกคนหนึ่ง
ผู้แต่งได้เลือกใช้พระจันทร์ในกรณีนี้เพราะว่าพระจันทร์มักถูกเชื่อมโยงกับความโรแมนติกและความเงียบเหงา สัญลักษณ์นี้ช่วยเติมเต็มเนื้อหาของเรื่องนี้เพราะว่าชายหนุ่มนั้นใช้พระจันทร์เปรียบเสมือนเพื่อนเก่าของเขาจากบ้านเกิดเพราะว่าเห็นจันทร์ดวงเดียวกัน แม้ต่างถิ่น ฉันคิดว่าเวลาชายหนุ่มนั้นมองดูดวงจันทร์ที่กรุงเทพ เขาคิดเหมือนกับตนเองได้กลับไปบ้านตนเพราะว่าดวงจันทร์นั้นเป็นดวงเดียวกับที่เขาเห็นมาตลอด ทำให้เขาคิดถึงบ้าน
การที่ใช้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ (symbol) เพื่อบ่งบอกความเหงาและคิดถึง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกไปด้วยกับชายหนุ่มและเข้าลึกไปในจิตใจของกลอน เพราะคำบรรยายสามารถทำให้ผู้อ่านแบ่งหรือมีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับชายหนุ่มนี้ เหตุนี้เป็นเพราะ พระจันทร์เป็นอะไรที่นิ่มนวลและใกล้ชิด
นอกจากนั้นกลวิธีต่างๆ ที่ถูกแพร่หลายในเพลงนั้นทำให้เราคล้อยตามไป ซึ่งเกิดความไพเราะ กลวิธีสำคัญ นี้ได้แก่ สัมผัสอักษร การซ้ำ (repetition) และสัมผัสสระ (rhyme) ในเพลงเพลงนี้ ผู้แต่งได้ใช้สัมผัสอักษรค่อนข้างมากเพื่อจะสื่อความหมายของเพลงได้สะดวกขึ้น รวมถึงทำให้เพลงไพเราะและคล้องจองกันเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นท่อน
"มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา..."
แนคิดว่าการสัมผัสตัวอักษร "ด" นี้ทำให้มีผลดีแก่เพลงเพราะว่า "ด" นี้ออกเสียงแล้วฟังอ่อนโยน ไม่รุนแรง และฟังดูเสียงเหมือนกำลังเพ้อฝัน หรือเหมือนอยู่ในฝัน (dreamy) ซึ่งเข้ากันได้ดีกับเนื้อหาของเพลงอีกเช่นกัน นอกจากนี้ตัวอย่างอีกชิ้นหนึ่งจากท่อนเพลงซึ่งสื่อให้เห็นถึงคำบรรยายอย่างชัดเจนได้แก่ท่อน
"อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน "
ฉันเห็นว่าการสัมผัสอักษรตรงนี้ได้ผลและสร้างจินตภาพได้สำเร็จเพราะว่าเวลาเราคิดถึงเมืองที่ยุ่งและวุ่นวายอยู่ เราก็จะเห็นภาพผู้คนวิ่งกันไปมาอย่างรีบร้อน การใช้ สัมผัส "ว" สร้างภาพในจินตนาการเราชัดยิ่งขึ้น เพราะ "ว" นั้นช่วยในการแต่งเติมเสียงและภาพของเมืองที่วุ่นวาย มิหน่ำซ้ำ ผูแต่งยังใช้สัมผัสสระ (มี rhyme, end rhyme, internal rhyme บ้าง) เพื่อสร้างความสมดุลและไพเราะของเพลงอีกเช่นกัน รวมถึง การซ้ำ (repetition) หรือย้ำคิดย้ำคำเพื่อเน้นประเด็นหรือความคิดถึงที่ชายหนุ่มมีต่อบ้านนั้นเอง
มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน